ท่ารำ มวยไทย โบราณ ประวัติ ความเป็นมาที่น่ารู้

ท่ารำ มวยไทย โบราณ ประวัติ ความเป็นมาที่น่ารู้


สำหรับบทความนี้ จะพาทุก ๆ ท่าน ไปรู้จัก ท่ารำ มวยไทย โบราณ ที่มีความสวยงาม แข็งแกร่ง รวมไปถึงประวัติ ความเป็นมาที่น่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ มวยไทย ( Muay Thai )

 

ประวัติความเป็นมา ของ  มวยไทย ( Muay Thai )

"มวยไทย" นั้นถือเป็นศิลปะของการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการต่อสู้ด้วยพละกำลัง ใช้อวัยวะเกือบทุก ๆ ส่วนของร่างกาย ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก รวมทั้งหัวด้วย มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ในสมัยก่อนนิยมฝึกหัดกันในหมู่นักรบโบราณ เป็นที่นิยมชมชอบของชนทุกชั้น แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินเอง ก็มีปรากฏในพงศาวดาร ครั้งกรุงศรีอยุธยา ขุนหลวงสรศักดิ์ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม พระเจ้าเสือ ทรงนิยมชมชอบมวยมาก ถึงกับปลอมพระองค์ไปชกมวยตามหัวเมืองบ่อยครั้ง (จากหนังสือเชิดชูเกียรติ อาจารย์จำลอง นวลมณี ครูมวยโบราณของสกลนคร ผู้ที่สืบสานศิลปะการร่ายรำมวยโบราณ)

 

โดยในภาคอีสาน เมื่อครั้งสมัยโบราณก่อนที่จะมีมวยคาดเชือก มวยเวที มีมวยแบบหนึ่ง โดยเรียกกันหลายชื่อ อย่างเช่น มวยลาว, เสือลากหาง ซึ่งมวยดังกล่าวนี้ ต่างนิยมฝึกหัดตามคุ้มวัดตามหมู่บ้าน เพื่อให้มีกำลังวังชา สามารถที่จะต่อสู้ป้องกันตัวได้ และในขณะเดียวกันก็คำนึงถึง ทางด้านความสวยงามของลีลาท่ารำท่าฟ้อน มีการร่ำเรียนเวทมนต์คาถา เสกเป่าหมัดเข่าให้มีพละกำลังแข็งแกร่งมากจนคู่ต่อสู้ทำอันตรายไม่ได้

 

ผู้รำมวยโบราณ นั้นนอกจากจะแต่งด้วยผ้าหยักรั้งปล่อยห้อยชายกระเบนแล้ว ตามเนื้อตัวตามขานั้นยังนิยมสักลายท่อนบนมักจะเป็นรูปสัตว์ที่แผงอก อาทิ รูปครุฑ, รูปงู, รูปเสือ, หนุมาน ส่วนตามโคนขานั้นก็จะสักลายเป็นรูปพืชผัก ไม่ว่าจะเป็น ลายต้นข้าว, ผักกูด คติความเชื่อในเรื่องสักลายนี้ แต่ว่าโบราณถือว่าเป็นสัญลักษณ์ความเข้มแข็งเป็นที่พึงพอใจของสตรีเพศ ด้วยความงดงามของมวยโบราณ อยู่ที่ท่าทางการไหว้ครู โดยใช้ลีลาจากอากัปกิริยาของสัตว์ อาทิ เสือ, ช้าง, ม้า, วัว, ควาย มาดัดแปลงด้วยลีลาของนักมวย แล้วเคลื่อนไหวเหยาะย่างให้เข้ากับเสียงกลองเสียงแคน นักมวยบางคน ยังนำเอาท่าทางของลิงของยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์ มาประดิษฐ์เป็นท่าทางร่ายรำอย่างสวยงาม อันเนื่องมาจากความงดงามของนักมวยโบราณ นับเป็นศิลปะผสมผสานระหว่าง นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานและชั้นเชิงของการต่อสู้ แบบมวยโบราณ

 

การแสดงมวยโบราณ ได้แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

● ขบวนแห่มวยโบราณ

● ท่าไหว้ครูหรือรำเดี่ยว

● การต่อสู้

 

 

เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า มวยโบราณ นั้นไม่ใช้การต่อสู้ ในแบบเข้าคลุกวงใน ทั้งนี้ก็เพราะจะทำให้เห็นลีลาท่าฟ้อนรำน้อยไป แต่ว่านักมวยจะเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้พร้อม ๆ กับถอยมาฟ้อนรำเป็นระยะ ๆ แล้วจึงบุกเข้าไป หรืออาจเตรียมตั้งรับหรือตอบโต้คู่ต่อสู้ โดยกล่าวได้ว่าความสนุกสนานของมวยโบราณ อยู่ที่ชั้นเชิงและกลเม็ดต่าง ๆ ของนักมวยผู้ที่เจนจัด มักมีลูกเล่นกลเม็ดมีลูกไม้แพรวพรายทั้งท่ารุก ท่ารับ โดยหมายถึงการฝึก หัดมาอย่างดีในท่ารุกเข้าพิชิตคู่ต่อสู้หลายแบบ นักมวยโบราณ ที่ถือว่ามีความคล่องตัวนิยมเล่นงานคู่ต่อสู้ด้วยเท้า ในขณะที่บางครั้งนั้นก็เสียเปรียบคู่ต่อสู้จนเสียหลัก นักมวยจะแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็น การหลบ โดยหลบลอดได้อย่างเร็ว พร้อม ๆ ใช้เท้าถีบคู่ต่อสู้ให้ล้มหรือใช้ศอกถอง แต่ว่าก็ต้องระวังท่าจระเข้ฟาดหางจากฝ่ายตรงข้ามตอบโต้ด้วย มวยโบราณ จึงมิใช่มวยที่จะมาชกกันเอาแพ้ชนะเช่นมวยในปัจจุบัน แต่หากว่าเป็นการต่อสู้ที่เน้นศิลปะของท่ารำ จึงควรให้เรียกว่า การรำมวยโบราณ ไม่ใช่การชกมวยต่อยมวยเหมือนอย่างเช่นในปัจจุบัน

 

ท่าฟ้อนของมวยโบราณ มีความอ่อนช้อยแต่เข้มแข็งทะมัดทะแมงอยู่ในการฟ้อนมวยโบราณ โดยท่าฟ้อนมวยโบราณนั้นทั้งหมดมี 14 ท่า อันได้แก่

1.  ท่าเสือออกจากเหล่า

2.  ท่าทะยานเหยื่อเสือลากหาง

3.  ท่าไก่เลียบเล้า

4.  ท่าน้าวคันศร

5.  ท่ากินนรเข้าถ้ำ

6.  ท่าเตี้ยต่ำเสือหมอบ

7.  ท่าทรพีชนพ่อ

8.  ท่าล่อแก้วเมขลา

9.  ท่าม้ากระทืบโรง

10.  ท่าช้างโขลงทะลายป่า

11.  ท่าย่างสามขุม

12.  ท่ากุมภัณฑ์ถอยทัพ

13.  ท่าลับหอกโมกขศักดิ์

14.  ท่าตบผาบปราบมาร

 

 

นอกจากนั้นก็ยังมีท่ารำ มวยไทยโบราณ แบบที่รำเป็นขบวนแห่อีก 9 ท่า โดยได้แก่

1.  ท่ากาเต้นก้อนขี้ไถ

2.  ท่าไล่ลูกแตก-ตบผาบปราบมาร

3.  ท่าช้างม้วนงวง

4.  ท่าทวงฮัก กวักชู้

5.  ท่าแหลวถลา กาตากปีก

6.  ท่าเลาะเลียบตูบ

7.  ท่าหวะพราย

8.  ท่าย่างสามขุม

9.  ท่าน้าวเฮียวไผ่

 

 

การแต่งกาย ของ มวยไทย โบราณ

มวยไทย โบราณ นั้นนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบหยักรั้ง นั้นคือ ดึงชายกระเบนให้สูงขึ้น เพื่อให้เห็นลายสักที่ขา ด้วยสีของผ้าโจงกระเบนนิยมสีแดงหรือสีน้ำเงิน แล้วปล่อยชายหางกระเบน ห้อยลงมาพองาม มีผ้าคาดเอวสีแดง หรือว่า น้ำเงิน (ใส่สลับกับผ้านุ่ง นั้นคือ ถ้าผ้านุ่งสีแดง ผ้าคาดเอวก็สีน้ำเงิน) โดยผ้าคาดเอวนี้จะช่วยรัดให้ผ้าโจงกระเบนแน่นกระชับ ที่สำคัญเลยอีกอย่างก็คือ มีผ้าประเจียดโพกศีรษะ (ผ้าประเจียด นั้นคือ ผ้าลงยันต์ บรรจุมนต์ขลังของเกจิอาจารย์) นอกจากนั้นก็ยังมีผ้ารัดต้นแขนทั้งสองข้าง เป็นผ้าสีแดง มีตะกรุดหรือว่าเครื่องรางของขลังอยู่ข้างใน

 

ดนตรีประกอบการแสดง มวยไทย โบราณ

เป็นสิ่งจำเป็นมากในการแสดงมวยโบราณ เพราะว่า จะช่วยสร้างอารมณ์ให้เกิดความคึกคักให้กับนักมวย และฝั่งผู้ชมยิ่งเป็นดนตรีพื้นเมืองของอีสานด้วยแล้ว ก็ยิ่งสนุก คึกคัก เร้าใจ นักมวยโบราณได้ฟังเสียงแล้วก็ฮึกเหิม ร่ายรำได้สนุกสนาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อย คนดูก็สนุกไปด้วยนั่นเอง

 

เครื่องดนตรีของมวยโบราณ เป็นดนตรีพื้นบ้านทั้งสิ้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

1.  เครื่องดีด ได้แก่  พิณ ถือเป็นเครื่องดนตรีหลัก

2.  เครื่องสี    ได้แก่ ซอกระบอกไม้ไผ่

3.  เครื่องตี    ได้แก่ กลองตุ้ม(กลองสองหน้า)โปงลาง ฆ้อง ฯลฯ

4.  เครื่องเป่า ได้แก่  แคน โหวด

 

ส่วนเพลงที่ใช้ตีประกอบนั้น มวยโบราณ ก็จะอาศัยจังหวะจากเสียงกลองและเครื่องตีประกอบ จังหวะอื่น ๆ มาเป็นตัวทำจังหวะให้นักมวย ได้เต้นเหยาะย่างตามลีลาท่าฟ้อน สำหรับบทเพลงที่เหมาะที่สุด คือ บรรเลงลายภูไทเลาะตูบ นั่นเอง

 

และนี่ก็เป็น เรื่องราวความเป็นมา ของ ท่ารำ มวยไทย ( Muay Thai ) โบราณ ประวัติ ความเป็นมาต่าง ๆ ที่มีความน่าสนใจ ที่เราได้นำมาฝากทุก ๆ ท่าน

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ศาสตร์แห่งอาวุธ สุดอันตรายของ กีฬา มวยไทย

ฟิต & เฟิร์ม สไตล์ มวยไทย ( Muay Thai )

 


muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200