มวยไทย ( Muay Thai ) เป็น กีฬา และ ศิลปะป้องกันตัว ประจำชาติไทย ซึ่งในแต่ละภาคของไทย ก็จะมี เชิงมวย ประจำของ ท้องถิ่นนั้น ๆ โดย มวยไทย จะแบ่งออกเป็น 4 ภาค ดังนี้
- มวยลพบุรี หรือ มวยไทย ภาคกลาง
เป็น มวยไทย ( Muay Thai ) สายภาคกลาง ที่มีวิวัฒนาการ มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ. 1200 จนมาในสมัยที่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองราชย์ ก็ได้ส่งเสริม มวยลพบุรี หรือ มวยไทย ภาคกลาง อย่างกว้างขวาง และมีการจัดการ แข่งขัน โดยกำหนดขอบ สังเวียน และมีกติกาการแข่งขัน รวมถึง สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์อีกหนึ่งพระองค์ ที่สนับสนุน มวยไทย ( Muay Thai ) ชอบ ชกมวยไทย และมักปลอมพระองค์ ไป ชกมวย กับชาวบ้าน อยู่เป็นประจำ
เอกลักษณ์ของ มวยลพบุรี คือ เป็น มวย ( Muay ) ที่ชกฉลาด รุกรับคล่องแคล่วว่องไว ต่อยหมัดตรง ได้อย่างแม่นยำ เรียกว่า "มวยเกี้ยว" หมายถึง มวย ที่ใช้ชั้นเชิง เข้าทำ คู่ต่อสู้ โดยใช้กลลวง มากมาย เคลื่อนตัวอยู่เสมอ หลอกล่อ หลบหลีก ได้ดี สายตาดี รุก และ รับออกอาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ได้ อย่างรวดเร็ว
- มวยโคราช หรือ มวยไทย ภาคอีสาน
เป็น มวยไทย ( Muay Thai ) สายภาคอีสาน ที่ถือกำเนิดมาจาก จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 โดยใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่5 ) ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงโปรด กีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นอย่างมาก การฝึกหัด มวยไทย แพร่หลาย ไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ และทรงจัดให้มีการแข่งขัน ชกมวย หน้าพระที่นั่ง ในงานศพของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์อุรุพงษ์รัชสมโภช ในวันที่ 18 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2452 ( ร.ศ.128 ) ณ ทุ่งพระเมรุ โดยเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้คัดเลือก นักมวย ที่มีฝีมือดี ทั่วประเทศ มาแข่งขันกัน
สำหรับ นักมวย คนใด เป็นที่พอพระราชหฤทัย ของพระองค์ ก็จะได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี นักมวย จากมณฑลโคราช ที่เป็น ขุนหมื่นครูมวย ก็คือ แดง ไทยประเสริฐ ได้รับพระราชทานเป็น "หมื่นชงัดเชิงชก"
- มวยไชยา หรือ มวยไทย ภาคใต้
เป็น มวยไทย ( Muay Thai ) สายภาคใต้ เป็น ศิลปะมวย ประจำถิ่นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีต้นกำเนิดมาจาก "หลวงพ่อมา" อดีตนายทหาร จากพระนคร สมัยรัชกาลที่ 3 มาฝึก มวย ( Muay ) ให้กับชาวเมืองไชยา และต่อมาเริ่มชื่อเสียง ในช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 5 ) เนื่องจาก นายปรง นักมวย เมืองไชยา นั้น ได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์ ให้เป็น หมื่นมวย ที่มีชื่อตำแหน่งกรรมการพิเศษ ของ เมืองไชยา และถือศักดินา 300
เอกลักษณ์ของ มวยไชยา มีอยู่ 7 ด้าน คือ 1. การตั้งท่ามวย หรือการจดมวย 2. ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม 3. การไหว้ครูร่ายรำ 4. การพันมือแบบคาดเชือก 5. การแต่งกาย 6. การฝึกซ้อมมวยไชยา และ 7.แม่ไม้มวยไชยา กระบวนท่า มวยไชยา มีทั้งหมด 5 ชุด ก็คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา 7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม เคล็ดลับ มวยไชยา ที่ใช้ป้องกัน ได้ดีที่สุด ก็คือ "ป้อง ปัด ปิด เปิด"
- มวยท่าเสา หรือ มวยไทย ภาคเหนือ
เป็น มวยไทย ( Muay Thai )สายภาคเหนือ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า สายนี้กำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็น ครูมวย คนแรก มีเพียงหลักฐาน ที่ปรากฎว่าครู มวยไทยท่าเสา ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็คือ "ครูเมฆ" ที่มีเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น ในเรื่องความคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว เด็ดขาด และมีลีลาท่าทาง ที่สวยงาม และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้เด็ด เตะ ถีบ และ ศอก เป็นที่เลื่องลือกระฉ่อนจน นายทองดี หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม "พระยาพิชัยดาบหัก" มาปฏิญาณกับตัวเองว่า จะต้องมาขอเรียน ศิลปะมวยไทย กับสำนักท่าเสา ให้ได้ และก็ได้เป็นศิษย์ ของ ครูเมฆ ในเวลาต่อมา
มวยท่าเสา มีความโดดเด่น ในการ จดมวย กว้าง และน้ำหนักตัว ไปทางด้านหลัง เท้าหน้า สัมผัสพื้นเบา ๆ ทำให้ออก มวย ( Muay ) ได้ไกล รวดเร็ว และรุนแรง หมัด หน้าห่างจากหน้า สูงกว่าไหล่ และ หมัด หลังจะต่ำ มวย ประเภทนี้ เป็นทั้ง มวยอ่อน และ มวยแข็ง สามารถรุกรับ ตามสถานการณ์ รู้วิธีรับ ก่อนรุก เรียนแก้ ก่อนผูก เรียนรู้ จุดอ่อน จุดแข็ง ของตนเอง และ คู่ต่อสู้ ได้
สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด
เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์
98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200