การไหว้ครู มวยไทย ก่อนชกมวยบนสังเวียน เป็นสิ่งที่นักมวยทุกคนต้องทำ เพื่อเคารพครูบาอาจารย์ของตน แต่การไหว้ครูนั้น ใช่ว่าจะรำได้ง่าย ๆ ต้องฝึกท่าทางเพื่อให้มีความสวยงาม และดูน่าเกร็งขามในเวลาเดียวกัน
1. ไหว้ครู มวยไทย ท่าช้างแยกปลอก
สำหรับท่านี้จะเป็นท่าต่อเนื่อง หรือ เป็นท่าที่ใกล้เคียงกับลักษณะของท่าย่างสามขุมเป็นอย่างมาก จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในเรื่องของท่วงท่าอย่างชัดเจน แต่ลักษณะของการเดินนั้นจะแตกต่างกันออกไป เมื่อเราได้ทำการเตรียมท่าที่เป็นลักษณะของท่าย่างสามขุม ลักษณะคือ เราจะเดินไปทางด้านหน้าโดยทำการยกขาซ้ายตั้งฉากกับพื้น และ ทำการยกแขนขวาตั้งฉากกับลำตัวเป็นลักษณะของการตั้งค่าเตรียมการป้องกัน ส่วนมือซ้ายนั้นก็เตรียมที่จะทำการเข้าจู่โจม หรือ โจมตีคู่ต่อสู้ หลังจากนั้นจะทำการเดินตะแคงข้าง หรือ เดินเฉียงไปทางด้านข้าง สลับฟันปลาไปมา เราจึงเรียกไหว้ครูในท่านี้รายชื่อที่ว่า ท่าช้างแยกปลอก
ประโยชน์ที่จะได้รับจากท่านี้นั่นก็คือ เมื่อเราทำการไหว้ครูในท่านี้เราจะทแยงในการเดินไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตอนนี้บนเวทีทั้งหมดเราได้สำรวจมาครบทุกทิศทาง ด้วยการยืนด้วยขาเพียงแค่ข้างเดียว และ การสำรวจพื้นที่ด้วยขาตัวเองแค่ข้างเดียวนั้นเราจะได้ประโยชน์หลักนั่นก็คือ หาจุดที่เป็นจุดด้อย บางครั้งการยืนบนพื้นผิวด้วยขาเพียงข้างเดียว และ เราเจอจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนเป็นแค่เล็กน้อยจะสังเกตได้ดีกว่าการยืนด้วยขาทั้งสองข้าง คราวนี้เราก็จะรู้แล้วว่าแต่ละมุม หรือ แต่ละจุดของเวทีนั้นจุดไหนที่มีปัญหา หรือ อาจจะมีการลื่นในบางจุด เราจะได้ระวังตัวเอาไว้ ท่าช้างแยกปลอก จึงถือว่าเป็นท่าที่ได้ประโยชน์หลายทิศทางในการไหว้ครูในท่าเดียว ใครที่สามารถไหว้ครูในท่านี้ได้ถือว่ามีกำลังขาที่ดีไม่น้อย
2. ไหว้ครู มวยไทย ท่าพยัคฆ์ดอมกวาง
ท่านี้เชื่อได้ว่าหลายคนนั้นคงเคยได้เห็นการไหว้ครูเป็นที่เรียบร้อยแต่อาจจะไม่รู้จักชื่อของท่าไหว้ครูท่านี้ จะว่าไปแล้วเป็นท่าไหว้ครูดีค่อนข้างจะดูยียวนกวนประสาทไม่น้อยด้วยเช่นกัน หลายคนที่จะไหว้ครูในท่านี้ ต้องมีความมั่นใจในการขึ้นเวทีเป็นอย่างมากด้วย เพราะลักษณะของการทำท่าทางจะเป็นการยื่นใบหน้าให้กับคู่ต่อสู้ บางครั้งบางทีอาจจะไปยั่วโมโหให้คู่ต่อสู้นั้นอาการสติแตกมีอาการหมั่นไส้ แล้วอาจจะไม่เล่นตามเกม ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีสำหรับเรา เพราะการที่คู่ต่อสู้หลุดเกมออกไป อาจจะเปิดช่องว่าง หรือ เปิดจังหวะทำให้เรานั้นสามารถทำคะแนน และ ชนะน็อคได้ด้วยเช่นกัน
ท่าพยัคฆ์ดอมกวาง เป็นการไหว้ครูในลักษณะท่ายืน ลักษณะเริ่มต้นนั้นคือ การทำท่าเหมือนกับ หรือ คล้ายกับการรำวง หรือ ท่าตั้งวงของท่ารำไทย เราจะหันหน้าไปหามุมที่เรากำลังเข้าไปไหว้ เมื่อเราทำการไหว้ที่มุมเสร็จเรียบร้อย เราจะเริ่มต้นด้วยการยกเท้าซ้ายตั้งฉากกับพื้นไปทางด้านข้าง พร้อมยกแขนซ้ายขึ้นอยู่ในศีรษะเสมือนกับการตั้งวง พร้อมกับหันหน้าไปมองคู่ต่อสู้ เราจะทำการหันหน้าไปมองแต่เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่หันลำตัวไป หลังจากนั้นใช้การเชื้อเชิญด้วยใบหน้าให้คู่ต่อสู้นั้นเข้ามาต่อสู้กับเราได้เลย ด้วยการพยักหน้าประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วทำสลับข้างกันอีก 1 ข้างด้วยการยกขาตั้งฉากกับพื้น และ ยกแขนขวาขึ้นเหมือนท่ารำเช่นเดียวกัน แล้วหันไปด้านหน้าพร้อมกับพยักหน้าให้กับคู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่ไหว้ครูใน ท่าพยัคฆ์ดอมกวาง เหมือนเป็นการตั้งใจที่จะกวนประสาทคู่ต่อสู้โดยตรง และ ต้องบอกว่าถ้าตัวผู้ไหว้ครูในท่านี้ไม่แน่จริง ก็คงจะไม่ทำการไหว้ครูในท่านี้อย่างแน่นอน
3. ไหว้ครู มวยไทย ท่าไต่เมฆ
ท่าไหว้ครูท่านี้จะเป็นท่าต่อเนื่องที่มาจากท่าส่องเมฆ สำหรับท่าส่องเมฆนั้นเราจะอยู่ในลักษณะของท่านั่ง แต่เมื่อมาอยู่ใน ท่าไต่เมฆ จะอยู่ในลักษณะของท่ายืน การทำลักษณะท่านี้จะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในช่วงแผ่นหลัง และ ช่วงแขน ถ้าเราสังเกตให้ดีโดยส่วนใหญ่ท่าไหว้ครูนั้นจะเน้นไปในช่วงของการยืดกล้ามเนื้อ หรือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อในช่วงขาเป็นส่วนใหญ่ เพราะการต่อยมวยกำลังขาจะต้องมาเป็นอันดับ 1 ต่อให้เรามีกำลังแขนที่เท่ากับช้างเหยียบ หรือ มีกำลังแขนที่เท่ากับหมีตะปบ แต่ถ้ากำลังขาของเรานั้นไม่ดี การใช้กำลังในส่วนอื่นก็จะลดน้อยถอยตามไปด้วยเช่นกัน
ท่าไต่เมฆ จะเป็นรูปแบบในลักษณะของการยืน เราจะยืนตรงด้านหน้าหลังจากนั้นจะตามมาด้วยการยกขาทางด้านซ้ายตั้งฉากกับพื้น มือทั้งสองข้างจะอยู่ลักษณะในท่าทางเดี่ยวกับท่าส่องเมฆ นั่นคือ แขนทั้งสองข้างจะยื่นออกไปด้านหน้าแล้วทำการพับข้อศอกให้แขนตรงช่วงปลายนั้นลักษณะเหมือนการบังหน้าของตนเอง หลังจากนั้นจะทำการหมุนวนแขนพร้อมกับแหงนหน้าขึ้นไปดูบนฟ้า เอนตัวไปทางด้านหลังเล็กน้อย เป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังยิ่งสามารถยืดไปด้านหลังได้มากเท่าไรก็เป็นการดีเท่านั้น ท่าไต่เมฆ ท่านี้เราสามารถนำมาดัดแปลงปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบของการยืดลำตัว ยืดกล้ามเนื้อหลังของตัวเราเองได้เช่นกัน การหมุนวงแขนลักษณะนี้จะเป็นการดึงกล้ามเนื้อในช่วงของหัวไหล่ ให้เกิดการตึงตัวได้เป็นอย่างดี
ท่าไต่เมฆ โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะเลือกทำด้านใดด้านหนึ่งก็สามารถทำได้ อีกประโยชน์ที่จะได้รับกับการไหว้ครูใน ท่าไต่เมฆ เราจะได้มองเห็นแสงไฟที่ส่องกระทบลงมา ปัจจุบันการชกมวยเราจะเน้นชกกันในช่วงค่ำช่วงเย็น และ แสงไฟจะเป็นส่วนที่จำเป็นบนเวทีเป็นอย่างมาก บางครั้งบางทีเราจะมองทิศทางการส่องไฟลงมา เพื่อเราจะได้มองหามุมว่ามุมไหนที่จะทำให้เรานั้นได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ทิศทางไหนทำให้เราเสียเปรียบเราก็จะต้องยืนฝั่งตรงข้ามให้มากที่สุด โดนแสงไฟสาดส่องเข้าดวงตาเพียงแค่เล็กน้อยเป็นไปได้อย่างมากว่าเรานั้นจะเกิดอาการตาพร่ามัว ลักษณะการเกิดสภาวะตาพร่ามัวเพียงแค่เสี้ยววินาที คู่ต่อสู้ที่มีการฝึกฝน และ มีการเรียนรู้มาเป็นอย่างดี เห็นเรากระพริบตาเพียงแค่เล็กน้อยก็รู้ได้เลยว่าเราเกิดอาการ และ ถ้าเราได้ออกอาวุธไปในช่วงนั้นมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่เราจะทำคะแนน หรือ น็อคคู่ต่อสู้ได้ด้วยเช่นกัน การไหว้ครูจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การไหว้ครูเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการหาเทคนิคบนเวทีในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วย
4. ไหว้ครู มวยไทย ท่ายูงรำแพน
สำหรับการไหว้ครูในท่านี้ จะเป็นในลักษณะการออกท่วงท่าลีลาในลักษณะรูปแบบยืน ดูแล้วเป็นความสวยงามเลียนแบบกับนกยูงนั้นรำแพนหางให้กับเราได้ชมได้ดูกัน ลักษณะท่าทางเป็นลักษณะเริ่มต้นด้วยอยู่ในท่ายืน หลังจากนั้นทำการยกขาขวาไปทางด้านหลังเลียนแบบหางของนกยูง พร้อมทั้งใช้มือซ้าย และ มือขวากางออก ลักษณะตอนนี้จะคล้ายกับ นกยูงรำแพนหางอย่างเต็มที่ แล้วทำการส่ายหน้าส่ายตัวไปทางซ้าย และ ขวาสลับไปมาด้านละประมาณ 3 ครั้ง เราจะทำลักษณะแบบนี้ที่กลางเวที โดยจะทำทั้ง 4 ด้าน หรือ เราอาจจะขยับไปริมเวทีอยู่ที่ขอบเชือกของเวทีแล้วทำรูปแบบนี้ทั้ง 4 ด้าน ได้เช่นกัน
ท่ายูงรำแพน ความหมายของท่าคือ การโชว์ความสวยงาม บอกถึงอาณาจักรของตัวเราว่าเรานั้นได้ครอบคลุมพื้นที่ไว้ทั้งหมดแล้ว ถ้าเราสังเกตให้ดีเวลาที่นกยูงนั้นรำแพนหางจะมีอยู่ 2 แบบ แบบแรก คือ โชว์ให้กับนกยูงตัวเมียได้เห็นถึงความสวยงามของนกยูงตัวผู้ เพราะการรำแพนหางนั้นจะทำเพียงนกยูงตัวผู้แต่เพียงอย่างเดียว โชว์ให้กับนกยูงตัวเมียรู้ว่าเรานั้นพร้อมที่จะเป็นคู่ครอง และ ผสมพันธุ์ อีกหนึ่งรูปแบบ คือ เราจะโชว์เพื่อแสดงอาณาเขตให้กับนกยูงตอนอื่นนั้นได้รู้อาณาเขตที่เรานั้นดูแล และ ปกครองอยู่ไม่มีใครสามารถเข้ามาย่ำกราย พร้อมทั้งป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาในอาณาเขตตัวเองได้ด้วย
ท่ายูงรำแพน สำหรับคนที่ไหว้ครูในท่านี้ ต้องบอกว่าถ้าใครที่มีลำตัวที่อ่อนที่แข็งแรงก็จะยกเท้าทางด้านขวานั้นขึ้นได้สวยงามเป็นอย่างมาก เมื่อเรามองด้านข้างจะพบว่า ลักษณะการรำแพนของนกยูง หรือ ในผู้ไหว้ครูมวยใน ท่ายูงรำแพน จะเป็นลักษณะคล้ายกับคันสร จะช่วยในการยืดกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีในตอนนี้ การส่ายตัวไปมา หรือ การบิดตัวไปมาทำให้ยืดกล้ามเนื้อช่วงด้านข้างลำตัว และ ช่วงแผ่นหลังได้เป็นอย่างดี เป็นการบอกให้กับคู่ต่อสู้ได้รู้ว่าเรานั้นมีสรีระรูปร่างที่สวยงามแข็งแรงพร้อมที่จะลุยได้ทุกเมื่อ การทำลักษณะแบบนี้ นอกจากจะเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของตัวเราเอง สำหรับผู้ชมรอบสนามนั้นก็ชื่นชอบอีกด้วย บางครั้งโฆษก หรือ พิธีกรในเวทีมวยจะอธิบายการทำท่านี้ถึงประวัติที่มา และ ประโยชน์ที่จะได้รับ มันจึงเป็นท่าร่ายรำครู มวยไทย ที่สุดงดงามไม่ว่าใครที่ได้เห็น หรือ ใครที่ได้ดูต่างก็ชื่นชอบเป็นอย่างมาก บางคนนำเอาท่านี้ไปดัดแปลงเป็นท่าออกกำลังกายในท่าโยคะ หรือ ท่าต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่มีการหวงลิขสิทธิ์ใครก็สามารถจะนำไปทดลองเล่น และ ทดลองปรับใช้ได้ ยิ่งใครที่สามารถทำได้ดีทำได้สวยงาม ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับตนเองอีกด้วย
ประโยชน์ของการไหว้ครู มวยไทย นั้นไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องราวของการเคารพครูบาอาจารย์ ถ้าเรามองให้ลึกซึ้งเราจะพบถึงประโยชน์มากมายที่เราได้รับ บางคนตั้งใจมาเรียนเรื่องการไหว้ครูเพียงอย่างเดียวเพื่อต้องการจะนำมาใช้ในการออกกำลังกาย บางคนทำการขึ้นซ้อมบนเวทีอย่างเต็มที่แล้วก็มาผ่อนคลายด้วยการไหว้ครูก็สามารถทำได้เช่นกัน หลังจากการเรียนชกมวย หรือ ขึ้นชกมวยอย่างเต็มที่ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นเรื่องที่จำเป็น และ วิธีเดียวที่จะทำให้การผ่อนคลายกล้ามเนื้อประสบความสำเร็จ และ ดีที่สุดนั่นคือเรื่องของการไหว้ครู ถ้าเราสังเกตให้ดีการไหว้ครูทุกท่วงท่าจะไม่ได้มีการหยุดนิ่งแต่จะมีการยืดกล้ามเนื้อผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกจุด ยิ่งเราสามารถทำได้ดี และ ทำได้นานก็จะเกิดประโยชน์กับตัวผู้ทำเองทั้งหมด เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนมุมมองเล็กน้อย หรือ ดัดแปลงถ้าเพิ่มเข้าไปอีกนิดหน่อย รับรองได้ว่าผู้ที่ร่ำเรียนเกี่ยวกับการไหว้ครูชนิดต่าง ๆ ของ มวยไทย จะเกิดประโยชน์กับตนเองอย่างมหาศาลแน่นอน
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด
เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์
98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200