มวยไทย ( Muay Thai ) ในแต่ละยุคสมัย

มวยไทย ( Muay Thai ) ในแต่ละยุคสมัย


มวยไทย ( Muay Thai ) ศิลปะการต่อสู้ ที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ของประเทศไทย มวยไทยนั้น มีการกำเนิดมาช้านาน จนในปัจจุบันกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) ก็ยังดำรงอยู่ ไม่เสื่อมคลายไปตามยุคสมัย

 

การกำเนิดของ มวยไทย ( Muay Thai ) เริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานเป็นที่แน่ชัด โดยมวยไทย อาจเกิดขึ้นมาได้ ตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ สมัยอาณาจักรน่านเจ้า สมัยอาณานครหริภุญชัย และสมัยอาณาจักรโยนกเชียงแสน แต่หากแบ่งมวยไทยเป็นตามสมัยของยุคประวัติศาสตร์ จะแบ่งตามยุคได้ ดังต่อไปนี้

 

สมัยสุโขทัย ( พ.ศ. 1781 – 1921 )

 

มวยไทยในยุคนี้ กษัตริย์และชายชาตรีทุกคน มักฝึกซ้อม มวยไทย ( Muay Thai ) ควบคู่กับการใช้อาวุธให้เกิดความชำนาญอยู่เสมอ เพื่อเตรียมตัวเข้ารับราชการทหาร และรับใช้ชาติ พร้อมออกรบปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของข้าศึกจากอาณาจักรใกล้เคียง เพราะอาณาจักรสุโขทัย มีศัตรูอยู่รอบด้าน โดยทำสงครามใหญ่ 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 140 ปี จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยา สามารถแย่งชิงอำนาจ และเข้ามาครอบครองอาณาจักรสุโขทัยได้

 

โดยในปี พ.ศ.1818 - 1860 พ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึง มวยไทยในการเขียนตำราพิชัยสงครามการเรียนมวยไทยในยุคนี้ นอกจากมีการเรียนมวยไทยในสำนักแล้ว ยังสามารถฝึกมวยไทยตามวัด โดยมีพระสงฆ์ หรือครูมวยเป็นผู้ฝึกสอนกันอย่างแพร่หลาย

 

สมัยอยุธยา ( พ.ศ. 1893 – 2310 )

 

สมัยนี้การถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ มาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่องกัน เช่น การฆ่าสัตว์ การคล้องช้าง การฟ้องรำ และการละเล่นต่าง ๆ และวัดก็คงเป็นสถานที่ให้ความรู้ ทั้งสามัญและฝึกความชำนาญในเชิงดาบ กระบี่กระบอง กริช มวยไทย ยิงธนู เป็นต้น

 

ต่อมาใน พ.ศ. 2174 - 2233 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่า มวยไทย ( Muay Thai ) มีความเจริญที่สุดในสมัยนี้ และมี “นายขนมต้ม” ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นายขนมต้ม จึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทย ที่ได้ประกาศฝีมือลายมือมวยไทยในต่างแดน และยังเปรียบเสมือนกับเป็น "บิดาวิชามวยไทย" มาจนถึงทุกวันนี้

 

สมัยกรุงธนบุรี ( พ.ศ. 2314 )

 

พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดีฟันขาว) ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเข้าตากสิน) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้น ได้นำทัพออกต่อสู้กับพม่าจนดับหัก แต่ก็สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แต่งตั้งนายทองดีไปครองเมืองพิชัย และมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย ต่อมาคนในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหักก็ได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงรัชกาลที่ 6 ก็ได้พระราชทานนามสกุลว่า วิชัยขัทคะ แปลว่า ดาบวิเศษของพระวิชัย

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 

ในปีพ.ศ. 2325 ในระยะต้น รัชกาลที่ 1 - 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นกษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( ร.1 ) ทรงโปรดกีฬามวยไทยเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้น ได้มีฝรั่งสองคนพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยชนิดมีเดิมพัน พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญ นักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับ ฝรั่งสองพี่น้อง แม้หมื่นผลาญจะมีร่างกายเล็กเสียเปรียบฝรั่งมาก แต่ด้วยศิลปะะมวยไทย อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ฝรั่งสองพี่น้องจึงพ่ายแพ้ยับเยินกลับไป

 

ในสมัย สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร.4 ) ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ หัดเล่นกระบี่กระบอง พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทย จึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้น ทั้งในชนบทและในกรุง นอกจากนี้ ได้ทรงแต่งตั้ง ผู้มีฝีมือในกีฬามวยไทยให้เป็น หัวหน้าในการจัดกีฬาและให้ยศตำแหน่งอีกด้วย

 

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 แม้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 พ.ศ.2463 แต่ก็ได้เกิดสนามมวยขึ้นครั้งแรก ระบุว่าได้มีสนามมวยสวนกุหลาบ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2463 คือ สนามมวยสวนกุหลาบ จัดให้มีการชกมวยไทยเป็นประจำ เมื่อแรกเริ่มนั้นให้นักมวยชกกันบนพื้นดิน ผู้ดูนั่งและยืน อยู่รอบบริเวณสังเวียน ซึ่งกว้างกว่า 20 เมตร มีการขีดเส้นกำหนดให้นั่งห้ามล้ำเข้าไปในเขตสังเวียน

 

ด้านนักมวย คาดเชือกที่พันมือด้วยด้ายดิบ สวมมงคล แม้ขณะชกก็ต้องสวมอยู่ มีผ้าประเจียดมัดไว้ที่ต้นแขนซ้ายและขวา สวมกางเกงขาสั้น มีผ้าพาดทับอย่างแน่นหนา ตรงบริเวณอวัยวะสำคัญปกคลุม มาจนถึงด้านบนตรงเอว ไม่สวมเสื้อ และปลายเท้าเปลือยเปล่า กรรมการแต่งกายด้วย ผ้าม่วง นุ่งโจงกระเบน สวมถุงเท้าขาว และเสื้อราชประแตน

 

มวยไทย ( Muay Thai ) สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพินีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวร และชั่วคราว ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกมากมาย และได้มีการออกกฎหมายเฉพาะ เกี่ยวกับ มวยไทย ( Muay Thai ) คือ พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 ที่สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. นี้ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน และควบคุมกิจการมวยไทย ในประเทศไทย ให้เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งกฏหมายอีกด้วย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เหลี่ยมมวย ใน มวยไทย ( Muay thai ) คืออะไร

สร้างสมดุลให้ร่างกาย และ เพิ่มการทรงตัว ด้วย มวยไทย


muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200