กระโดดเชือก แบบนักมวย ไม่ใช่เรื่องยาก

กระโดดเชือก แบบนักมวย ไม่ใช่เรื่องยาก


กระโดดเชือก แบบนักมวย ไม่ใช่เรื่องยาก

ในปัจจุบัน เทรนด์ การออกกำลงกาย กำลังมาแรง โดยเฉพาะ การออกกำลังกายแบบ นักมวย และการกระโดดเชือก ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งจะเป็นการออกกำลังที่ใช้อุปกรณ์น้อย ทุนไม่แพง แต่ก็ได้กล้ามเนื้อที่สวย ไม่แพ้กัน กับการออกกำลังกายแบบปกติ

 

การเล่นกีฬา ออกกำลังกายช่วยให้ร่างกาย เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว และ ยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย โดยการกระโดดเชือก ถือเป็นการบริหารร่างกายที่ให้ทั้งความสนุก และเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เป็นการออกกำลังกายในเชิงแอโรบิค ซึ่งจะที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ ยิ่งกับเด็ก วัยที่กำลังเจริญเติบโต กล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเราจะแนะนำวิธีการกระโดดเชือกที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย เพื่อให้ได้กำลัง และรูปร่างแบบ นักมวย รวมถึงประโยชน์ของการกระโดดเชือก

 

วิธีกระโดดเชือก

ข้อแนะนำ ก่อนการกระโดดเชือก คุณควรวอร์มร่างกายก่อน ซึ่งในการออกกำลังกายทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบไหน เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น และให้กล้ามเนื้อได้ยืด ผ่อนคลายก่อน โดยการทำง่าย ๆ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้งอยู่กับที่ หรือ เหวี่ยงแขนขึ้นลง เป็นต้น ซึ่งการบริหารร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนการกระโดดเชือกนี้ เป็นการทำที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยปรับสภาพร่างกาย และ ช่วยให้ข้อต่อ และ กล้ามเนื้อของร่างกาย เคลื่อนไหวได้คล่องตัวยิ่งขึ้น และเพื่อความสนุกขึ้นในการออกกำลังกาย ลองเปิดเพลงสนุก ๆ ประกอบการกระโดดเชือก อาจจะช่วยให้คุณผ่อนคล้ายขึ้น กับการบริหารร่างกาย

 

1. ซื้อเชือก ที่มีคุณภาพ

ขั้นตอนแรก คือ เลือกเชือกให้ถูกกับความต้องการ เช่น ถ้าคุณต้องการกระโดดเชือกที่เน้นความเร็วเพื่อคาร์ดิโอ ควรเลือกเชือกที่มีน้ำหนักเบา เช่น เชือกที่ทำจากสายเคเบิล แทนที่จะเป็นพลาสติก หรือ หากต้องการบริหารร่างกายท่อนบน อย่างเช่น หัวไหล่ให้กลมกลึง ลองมองหาเชือกกระโดดเส้นใหญ่ ที่มีน้ำหนักมาก ต้องใช้แรงในการเหวี่ยงสูง หากเป็นเชือกประเภทนี้ก็จะได้ทั้งกล้ามเนื้อ และเบิร์นไขมันไปในตัว แต่อาจหาซื้อยากหน่อย เมื่อได้เชือกแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การปรับความยาวเชือกให้เหมาะสม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้เท้าข้างหนึ่งขึ้นไปเหยียบตรงกึ่งกลางเชือก จากนั้นดึงเชือกขึ้นให้ตึง ความยาวของเชือก ( ไม่รวมด้ามจับ ) ควรอยู่ใต้ราวนมพอดี ถ้าหากเชือกยาวเกินไป แนะนำอย่าตัดให้ม้วนแล้วมัดเป็นปมไว้ข้างด้ามจับ และ อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ บริเวณที่จะกระโดดควรเป็นพื้นผิวเรียบ เช่น พื้นคอนกรีต หรือ พื้นกระเบื้อง ไม่ควรกระโดดบนพื้นที่ลื่น หรือ ขัดมัน เพราะเสี่ยงต่อการลื่นไถล เมื่อเหงื่อของคุณไหลลงบนพื้น รวมถึงพื้นที่มีก้อนกรวด หรือ หินเล็ก ๆ ก็ควรเลี่ยง 

 

2. โดดให้เป็นธรรมชาติ

สำหรับการกระโดดเชือกที่ถูกวิธี คือ ไม่ควรกระโดดเชือกจนส่งเสียงตึงตังทุกครั้งที่เท้าลงพื้น เพราะเป็นการทำลายข้อเข่า หรือเสี่ยงต่อเท้าพลิกได้ง่าย แต่ควรเริ่มช้า ๆ กระโดดพร้อมกันสองขา ค่อย ๆ ฝึกให้ร่างกาย และ สมอง สามารถสั่งการได้อย่างอัตโนมัติก่อน จากนั้นค่อยโดดสลับขา ที่เมื่อเท้าหนึ่งข้างแตะพื้น และ โดดต่อทันทีเหมือนเวลานักมวยวอร์มร่างกายก่อนขึ้นชก  จังหวะลงให้งอเข่าเล็กน้อย เพื่อลดแรงกระแทก โดยต้องลงให้นิ่มนวลที่สุด ไม่จำเป็นต้องเสียงดัง แล้วค่อยเด้งตัว ทำสลับไปมา

 

3. การกระโดดเชือก ช่วยลดหุ่นได้

มีการศึกษาที่เผยแพร่ใน SHAPE America พบว่า การกระโดดเชือก ถือเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ที่มีประสิทธิภาพมาก แค่เพียงโดดเชือก 10 นาที ต่อวัน นาน 6 สัปดาห์เป็นประจำทุกวัน ก็สามารถช่วยให้ปอด และหัวใจของคุณแข็งแรง เทียบเท่า การวิ่งจ๊อกกิ้งนาน 30 นาที ต่อวันเลยทีเดียว แถมการกระโดดเชือกที่ระดับความเหนื่อยคงที่ หรือ โดดไปเรื่อย ๆ แบบไม่รีบเร่ง จะช่วยให้การทำงานกล้ามเนื้อทั่วทุกส่วนได้มากกว่าการจ๊อกกิ้ง หรือเดินเร็วเสียอีก

 

4. สมองดีจากการกระโดดเชือก

จากการวิจัย การกระโดดเชือก สามารถช่วยพัฒนาสมองได้ทั้งสองฝั่ง ทำให้ทักษะต่าง ๆ ของเราดีขึ้น อาทิเช่น เพิ่มความสามารถด้านการจดจำ ไม่เฉยชา ทั้งยังทำให้สมองของคุณฉับไว ซึ่งเป็นผลจากการที่คุณได้ฝึกสมาธิไปในตัว ขณะกระโดด เพราะคุณต้องทรงตัวบนขาข้างเดียว ( ขณะที่ขาอีกขาลอยจากพื้น )

 

5. เพิ่มมวลกระดูกได้จริง แต่ต้องดูด้วยว่าร่างกายพร้อมไหม

เมื่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ประจำที่ University of Colorado ระบุว่า การกระโดดเชือกช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาชิ้นหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น หลังทดลองให้หนูกระโดดขึ้น - ลง จำนวน 40 ครั้ง ภายในหนึ่งสัปดาห์ พบว่าหนูเหล่านี้มีมวลกระดูกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 24 สัปดาห์ และยังคงรักษาระดับมวลกระดูกเหล่านั้นต่อไปได้หากกระโดด 20 - 30 ครั้ง ต่อสัปดาห์ แต่ข้อแม้มีอยู่ว่าคุณต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่อ้วนนั่นเอง) ไม่มีปัญหาเรื่องการบาดเจ็บตามข้อต่อต่างๆ เช่น เข่า ข้อเท้า หัวไหล่ ฯลฯ หรือสมาชิกที่บ้านเคยมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว แนะนำว่าคุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกทำกิจกรรมประเภทนี้

 

ประโยชน์ของการกระโดดเชือก

- ช่วยในการทรงตัว

- ช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง และคล่องแคล่วว่องไว

- ช่วยพัฒนาการประสานงานของสมองและร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวเท้า และมือที่ต้องเชื่อมโยงกัน

- ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้เป็นอย่างดี เพราะการกระโดดเชือกเปรียบเสมือนการออกกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา

- ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดีขึ้น

- ช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างเเข็งแรง และเป็นระบบ

- ช่วยให้ร่างกายสูดเอาออกซิเจนเข้าปอดได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งผลดีช่วยให้สมองปลอดโปร่งและคลายความตึงเครียดได้

- ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาของร่างกายให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

อุปกรณ์มวย สำหรับมือใหม่

กระสอบทราย เพื่อนคู่ใจนักชก

 

 



muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200