การจำแนกรุ่น ของ มวยไทย ตามกติกา

การจำแนกรุ่น ของ มวยไทย ตามกติกา


ก่อนที่นักมวยจะเข้าลงแข่งขัน จะต้องมี การจำแนกรุ่น นักมวยด้วย โดยนักมวยที่เข้าแข่งจะต้องได้รับการรับรองและการตรวจจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ที่จะเข้าแข่งขันได้ ต้องไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก และจะต้องชั่งน้ำหนักตัวในวันที่แข่งขัน

โดยนักมวยที่จะเข้าแข่งขันต้องชั่งน้ำหนัก ในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการแข่งขันจะต้อง ไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมงภายหลังเวลาชั่งน้ำหนัก สำหรับคุณสมบัติของนักมวยจะต้องอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ และมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ปอนด์ จากนั้นจะทำการจำแนกรุ่นตามน้ำหนัก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 19 รุ่นตามกติกาของมวยไทยข้อที่ 6 ที่ว่าด้วยเรื่อง การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก

 

การจำแนกรุ่น ทั้ง 19 รุ่น มีดังนี้

1. รุ่นพินเวท (Pin Weight) น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)

2. รุ่นมินิฟลายเวท (Mini Fight Weight) น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)

3. รุ่นไลท์ฟลายเวท (Light Fight Weight) น้ำหนักต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)

4. รุ่นฟลายเวท (Fight Weight) น้ำหนักต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)

5. รุ่นซูปเปอร์ฟลายเวท (Super Fight Weight)  น้ำหนักต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)

 

6. รุ่นแบนตั้มเวท (Bantam Weight) น้ำหนักต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)

7. รุ่นซูปเปอร์แบนตั้มเวท (Super Bantam Weight)  น้ำหนักต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)

8. รุ่นเฟเธอร์เวท (Feather Weight) น้ำหนักต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)

9. รุ่นซูเปอร์เวท (Super Weight) น้ำหนักต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)

10. รุ่นไลท์เวท (Light Weight) น้ำหนักต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)

 

11. รุ่นซูปเปอร์ไลท์เวท (Super Light Weight) น้ำหนักต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)

12. รุ่นเวลเตอร์เวท (Welter Weight) น้ำหนักต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)

13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท (Super Welter Weight) น้ำหนักต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)

14. รุ่นมิดเดิลเวท (Middle Weight) น้ำหนักต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71575 กิโลกรัม)

15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท (Super Middle Weight)  น้ำหนักต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)

 

 

16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท (Light Heavy Weight) น้ำหนักต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)

17. รุ่นครุยเซอเวท (Cruiser Weight) น้ำหนักต้องเกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)

18. รุ่นเฮฟวี่เวท (Heavy Weight) น้ำหนักต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)

19. รุ่นซูเปอร์เฮวี่เวท (Super Heavy Weight) น้ำหนักต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

 

ผู้แข่งขันทุกคนต้องพร้อมที่จะชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายในตอนเช้าวันแรกของการแข่งขันตั้งแต่งเวลาประมาณ 07.00 – 10.00 นาฬิกา สำหรับวันแข่งขันต่อไปเฉพาะนักมวยที่จะแข่งขันตามรายการวันนั้น จะต้องมาทำการชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 นาฬิกา

 

น้ำหนักในการชั่งได้เป็นทางการในวันแรกถือเป็นน้ำหนักของนักมวยตลอดการแข่งขัน แต่ต้องมาทำการชั่งน้ำหนักทุกวันที่เขามีการแข่งขัน ผุ้แข่วงขันต้องแข่งขันในรุ่นที่เขาได้ชั่งน้ำหนักเป็นทางการไว้เท่านั้น

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

สาระน่ารู้ดีๆ ที่ควรจะรู้เกี่ยวกับการ ต่อยมวย

ออกกำลังกายด้วยการเรียนมวยได้อะไรบ้าง


muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200