ฝึกมวยไทยต้องใช้อะไรบ้าง

ฝึกมวยไทยต้องใช้อะไรบ้าง


มวยไทย ( Muay Thai )  เป็นกีฬาการต่อสู้ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน หลายคนอาจมองว่าเป็นกีฬาของผู้ชาย แต่ยิ่งสังคมและยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็ยิ่งทำให้มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย หันมาสนใจ มวยไทย ( Muay Thai ) และหลงใหลในศาสตร์แห่งการต่อสู้ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อการออกกำลังกายหรือป้องกัน

 

สิ่งจำเป็นสำหรับสตรีที่ต้องการฝึกฝน มวยไทย ( Muay Thai )  แบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ

 

1. อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการชกมวย

2. เครื่องแต่งกายที่เหมาะสม

3. เครื่องสำอางที่จำเป็น

 

1. อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการชกมวย สำหรับ มวยไทย ( Muay Thai ) ประกอบด้วย

 

ผ้าพันมือ มวยไทย ( Muay Thai )  – ใช้สำหรับพันรอบมือก่อนสวมนวม ช่วยป้องกันไม่ให้มือได้รับบาดเจ็บหรืออันตราย

 

นวมมือมวยไทย ( Muay Thai )  – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน มีน้ำหนักขนาดต่างๆ กัน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของผู้ฝึกและเป็นไปตามกติกาการแข่งขัน

 

กางเกงมวยไทย ( Muay Thai )  – เป็นเครื่องแบบในการแข่งขัน ลวดลายสีสันมีให้เลือกมากมาย ตามรสนิยมของผู้ใช้

 

แองเกิลข้อเท้า – ช่วยป้องกันข้อเท้าพลิกหรือเคล็ด ลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

 

สนับเข่า สนับศอก – สำหรับมือใหม่ช่วยป้องกันเวลาล้มหรือแรงปะทะต่างๆ

 

2. เครื่องแต่งกายมวยไทย ( Muay Thai )

 

เสื้อนักมวยหญิง – อาจเป็นเสื้อกล้าม หรือเสื้อที่ออกแบบมาสำหรับการชกมวยโดยเฉพาะ

 

กางเกงซับใน – เพื่อป้องกันไม่ให้โป๊ เวลายกขา เข่า หรือเตะ

 

สปอร์ตบรา – เพื่อปกปิด และกระชับหน้าอก ต้องไม่อึดอัดจนหายใจลำบาก หรือหลวมเกินไปจนรู้สึกไม่คล่องตัว

 

3. เครื่องสำอาง

 

ครีมกันแดด – ในการซ้อมมวย อาจต้องมีการวิ่งออกไปภายนอกซึ่งต้องเจอกับแสงแดดและฝุ่นละอองต่างๆ จึงจำเป็นต้องทาโลชั่นกันแดดเพื่อป้องกันผิวเสื่อมโทรม

 

ลิปสติก – ลิปสติกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ทาลิปเพิ่มความมั่นใจก็ดีนะ

 

ดินสอเขียนคิ้ว – มีคำกล่าวว่า “คิ้วเป็นมงกุฎของหน้า” ดังนั้นการมีคิ้วที่สวยงามจึงทำให้ใบหน้าโดยรวมดูดีขึ้น บางคนอาจเลือกสักคิ้วถาวรเพื่อประหยัดเวลา และคิ้วไม่หายไปกับเหงื่อ

 

สิ่งที่คุณอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับ  มวยไทย ( Muay Thai )  มี ดังนี้

 

1.)  มวยไทย ( Muay Thai )  ถูกเรียกว่า "ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9" เพราะว่ามีการต่อสู้โดยใช้อาวุธบนร่างกาย 9 อย่าง (นวอาวุธ) คือ หมัด 2 / ศอก 2 / เข่า 2 / เท้า 2 และ หัว 1

 

2.) ปัจจุบันชาวต่างชาติ มักจะรู้จัก มวยไทย ( Muay Thai )  ในนาม Art of Eight Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 8) เพราะ กติกา มวยไทย ( Muay Thai ) ปัจจุบัน ตัดการใช้หัวโขกออกไป และ ไปเรียก Lethwei (มวยพม่า) ว่าเป็น Art of Nine Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง 9) แทน เพราะยังสามารถใช้หัวโขกได้

 

3.)  มวยไทย ( Muay Thai ) ในอดีต ใช้ คาดเชือก ในการพันมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของมือ แต่กติกาไม่ได้กำหนดว่า ต้องคาดเชือกแต่อย่างใด นักสู้สามารถเข้าต่อสู้ โดยใช้มือเปล่าก็ได้

 

4.) สนามมวยแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2462 คือ สนามมวยสวนกุหลาบ ซึ่งดำเนินการโดยประชาชน ภายในบริเวณวังสวนกุหลาบ

 

5.) สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (Rajadumnern Stadium) นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และมีการแข่งขันนัดแรกในปี 2488

 

6.)  มวยไทย ( Muay Thai ) ได้รับความนิยมในทุกชนชั้น ในประวัติศาสตร์ พระเจ้าเสือ ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน ออกไปชกมวยกับนักมวยฝีมือดีของอำเภอวิเศษไชยชาญ และสามารถชกชนะนักมวยเอกถึง ๓ คน ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และ นายเล็ก หมัดหนัก โดยทั้ง 3 คนได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำ

 

7.) ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดแข่งขันมวยคาดเชือกหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานศพของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช โดยให้หัวเมืองทั่วประเทศคัดเลือกนักมวยฝีมือดีเข้าแข่งขัน จำนวน 3 คน คือ

 

นายปล่อง จำนงทอง จากเมืองไชยา เป็น “หมื่นมวยมีชื่อ”

นายกลึง โตสะอาด จากเมืองลพบุรี เป็น “หมื่นมือแม่นหมัด”

นายแดง ไทยประเสริฐ จากเมืองโคราช เป็น “หมื่นชงัดเชิงชก”

 

ของใช้ต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้อาจมีความสำคัญมากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล แต่สิ่งสำคัญคือ “ใจรัก” ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการเรียน มวยไทย ( Muay Thai )  เพราะจะทำให้เกิดการฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่องและไม่ถอดใจเอาง่ายๆ หากใครยังไม่รู้ว่าจะซื้อชุดมวยแบบผู้หญิงใส่กันได้ที่ไหน ที่ muaythaistreetshop มีจำหน่ายอุปกรณ์ เสื้อผ้า นวม สำหรับคน ชกมวย ด้วยนะ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เลือกกระสอบทรายแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

จีทคุนโด้ ศิลปะการต่อสู้ ที่มีพื้นฐานจากมวยไทย?


muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200