นักมวยต้องระวังเรื่องของอาการไหล่ติด

นักมวยต้องระวังเรื่องของอาการไหล่ติด


นักมวยอวัยวะที่ใช้ออกกำลังมากที่สุดก็คือมัดเพราะค่อยชกไปเฉยๆ เพื่อทำลายจังหวะของคู่ต่อสู้ หัวไหล่ก็เป็นตัวส่งแรงเช่นกันและถ้าหากตัวเรามีอาการปวดไหลหรือไหลติดจะส่งผลเสียต่อการฝึกซ้อมมากเลยทีเดียว



ปวดไหล่ กับสัญญาณเริ่มต้นภาวะ ไหล่ติด

อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้มากและบ่อยขึ้น โดยอาจเกิดเป็นครั้งคราวหรือเรื้อรัง หากมีอาการปวดไหล่ระหว่างเอื้อมหยิบของจากที่สูง เอื้อมมือไปรูดซิบด้านหลังเสื้อไม่ได้ ล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ่านทางศีรษะไม่ได้ หรือ เวลาชกต่อยลมรู้สึกเจ็บจี๊ดๆตรงบริเวณหัวไหล่ สัญญานพวกนี้ บ่งบอกแล้วว่าไหล่ของเรากำลังมีปัญหา



สาเหตุของภาวะไหล่ติด

การชกต่อยต้องใช้แรงส่งจากไหล่อยู่แล้ว และยิ่งกระแทกไปถึงหัวไหล่อีกด้วย ก็ยิ่งจะเสี่ยงเป็นไหล่ติด สาเหตุเกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ เกิดการบวมและหนาตัวขึ้นเมื่อยกแขนหรือไขว้มือด้านหลังจะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดจนผู้ป่วยไม่กล้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะหรือเคลื่อนไหวหัวไหล่


ยิ่งหลีกเลี่ยงจะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่หนาตัวมากขึ้นองศาการเคลื่อนไหวจะน้อยลงและหากไม่ใช้แขนข้างที่เป็นไหล่ติดเป็นเวลานานกล้ามเนื้อแขนข้างนั้นจะฝ่อลีบลง



ผู้ที่มีความเสี่ยงกับภาวะไหล่ติด


ภาวะไหล่ติดมักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 60 ปี โดยเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่หัวไหล่ แขนหัก ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก และก็นักมวยไทยที่ฝึกซ้อมแล้วเกิดการพลาดได้ และผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดที่หัวไหล่ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งมีแนวโน้มเกิดอาการไหล่ติดมากเป็น 2 เท่าของคนปกติ



วิธีรักษาภาวะไหล่ติด


โดยปกติอาการไหล่ติดสามารถหายได้เองภายใน 2-3 ปี แต่สร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิตและทำให้รู้สึกทรมานจากอาการปวด จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้อาการหายไปได้เอง

การรักษาจะรักษาตามอาการ ระยะที่ 1 จะให้ทานยาหรือฉีดยา ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ใช้วิธีกายภาพบำบัดภายใต้คำแนะนำของนักกายภาพบำบัด ทั้งนี้หากอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลนานกว่า 6 เดือน แพทย์อาจจะรักษาโดยการผ่าตัด

ยิ่งเป็นนักมวย แล้วละก็ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะการไหล่ติดนี้ เป็นกันบ่อยเกือบจะทุกคนในค่ายแต่ไม่รู้สึกตัวและหายไปเอง จริงๆ นักมวยมีร่างที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็อย่าละเลยพวกนี้นะครับ เป็นนักมวย ก็ต้องรักษาตัวและฝึกซ้อมหนักเป็นพิเศษนะครับผม

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

สังเกตตัวเองหรือไม่ทำไมออกกำลังกายแล้วไม่เห็นผล

รักษาชีวิตและลดอันตราย ด้วย ฟันยาง สำหรับนักมวย

กระจับมวยเอาไว้ทำอะไร

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook


muaythaistreet

สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด

เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์

98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200