นอกจากการเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วย กลยุทธ์วิถีเทคนิคต่างๆ
ของศิลปะการต่อสู้บนเวทีของมวยไทย อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดตัดสินและชี้ขาด แพ้ชนะ
บนเวทีได้ก็คือ หน้าที่ของตำแหน่ง กรรมการ แล้ว กรรมการ สำคัญถึงไฉนล่ะ?
กรรมการบนเวที
นับว่าเป็นตำแหน่งที่สาม ที่มักจะประกบคู่นักมวยทั้งสอง คอยตรวจเช็ค
ความถูกต้องและกฎกติกาการชกบนเวที
และกรรมการที่นั่งชมอยู่ด้านล่างข้างเวที เป็นผู้ชี้ขาดและเป็นผู้ตัดสินบนเวที
ที่นักมวยทุกคน ต้องมีความเกรงใจ และให้เกียรติในการต้องทำตามกฏ วันนี้
เราจะมาให้ความรู้ถึงความสำคัญของ กรรมการ บนเวที ว่าเราต้องมีเขาไว้เพื่ออะไร
คุณสมบัติของคนเป็นกรรมการ
คุณสมบัติของกรรมการ
ผู้ชี้ขาด ( อยู่บนเวที ) และผู้ตัดสิน ( อยู่ข้างล่าง ) จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด
/ ผู้ตัดสิน ต่อไปในระยะเวลาที่เห็นสมควร จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่า
เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน และจะต้องผ่านการอบรม, การทดสอบ, การขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด
/ ผู้ตัดสินมวยไทย และได้รับตราพร้อมประกาศนียบัตร ของสภามวยไทยโลก
จำนวนกรรมการ
ผู้ชี้ขาด / ผู้ตัดสิน จะต้องมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3
คน ทั้งนี้ยังต้องมีประธานผู้ตัดสิน เป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย
กรรมการ
ผู้ชี้ขาดบนเวที ( หรือในสังเวียน ) จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน
เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน มีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก
และสวมรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่ส้นสูง จะต้องไม่สวมแว่น
ไม่สวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะ และจะต้องตัดเล็บมือเรียบสั้น
กรรมการ
ผู้ชี้ขาด จะต้องรักษากติกาและให้ความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด
จะต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม
จะต้องควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด จะต้องป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่า ไม่ให้ได้รับความบอบช้ำ
จนเกินควรและโดยไม่จำเป็น จะต้องตรวจนวม ตรวจเครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวยก่อนการแข่งขัน
ในยกแรกจะต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือ กันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ
การจับมือจะกระทำกันอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันในยกสุดท้าย ห้ามนักมวยทั้งสอง
จับมือกันระหว่างการแข่งขัน
ผู้ชี้ขาด
จะต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ "หยุด" เมื่อ สั่งให้นักมวยหยุดชก "แยก" เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัดและ "ชก" เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก
นักมวยทั้งสองจะต้องถอยหลังออกมาก่อน อย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงจะชกต่อไป
ผู้ชี้ขาด
จะต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบ ถึงความผิดของตน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
จะต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คนข้างล่างเวที จากนั้น
ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงคะแนนข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น
นำบัตรคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ
หน้าที่ของผู้ตัดสิน
หน้าที่ของผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสินแต่ละคน จะต้องตัดสินการชกของนักมวยโดยอิสระ และจะต้องตัดสินไปตามกติกา ผู้ตัดสินแต่ละคน
จะต้องอยู่คนละด้านของเวทีและห่างจากผู้ชม ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่
ผู้ตัดสินจะต้องไม่พูดกับนักมวย หรือกับผู้ตัดสินด้วยกัน หรือกับบุคคลอื่น ยกเว้นกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที
ถ้ามีความจำเป็นจะต้องพูดกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก
แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท หรือเชือกหย่อน
ซึ่งผู้ชี้ขาด อาจจะไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น
ผู้ตัดสิน
จะต้องให้คะแนนแก่นักมวยทั้งสอง ในบัตรบันทึกคะแนน
ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละยก ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลุกออกจากที่นั่งให้คะแนน
จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้ว และการแต่งกายของผู้ตัดสิน
จะต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด
จะเห็นได้ว่า
ความสำคัญของกรรมการ คือผู้ตรวจสอบและดูความเรียบร้อย ตลอดการชก
ให้เป็นไปตามกฎกติกาที่ต้องถูกต้องที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ohlor
อ่านบทความเพิ่มเติม
สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด
เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์
98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200