มวยไทย
เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ
ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย ในวันนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
มวยไทย ที่คนไทยอย่างคุณอาจจะไม่รู้ก็ได้
สิ่งที่คุณอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับ มวยไทย มี
ดังนี้
1.) มวยไทย ถูกเรียกว่า "ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง
9" เพราะว่ามีการต่อสู้โดยใช้อาวุธบนร่างกาย 9 อย่าง (นวอาวุธ)
คือ หมัด 2 / ศอก 2 / เข่า 2 / เท้า 2 และ หัว 1
2.) ปัจจุบันชาวต่างชาติ มักจะรู้จักมวยไทย
ในนาม Art of Eight Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง
8) เพราะ กติกามวยไทยปัจจุบัน
ตัดการใช้หัวโขกออกไป และ ไปเรียก Lethwei (มวยพม่า)
ว่าเป็น Art of Nine Limbs (ศาสตร์แห่งอาวุธทั้ง
9) แทน เพราะยังสามารถใช้หัวโขกได้
3.) มวยไทยในอดีต ใช้ คาดเชือก
ในการพันมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของมือ แต่กติกาไม่ได้กำหนดว่า
ต้องคาดเชือกแต่อย่างใด นักสู้สามารถเข้าต่อสู้ โดยใช้มือเปล่าก็ได้
4.) สนามมวยแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2462
คือ สนามมวยสวนกุหลาบ ซึ่งดำเนินการโดยประชาชน ภายในบริเวณวังสวนกุหลาบ
5.) สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (Rajadumnern
Stadium) นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล
ป. พิบูลสงคราม และมีการแข่งขันนัดแรกในปี 2488
6.) มวยไทยได้รับความนิยมในทุกชนชั้น
ในประวัติศาสตร์ พระเจ้าเสือ ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน
ออกไปชกมวยกับนักมวยฝีมือดีของอำเภอวิเศษไชยชาญ และสามารถชกชนะนักมวยเอกถึง ๓ คน
ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และ นายเล็ก หมัดหนัก
โดยทั้ง 3 คนได้รับความพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำ
7.) ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดแข่งขันมวยคาดเชือกหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลาทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานศพของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช โดยให้หัวเมืองทั่วประเทศคัดเลือกนักมวยฝีมือดีเข้าแข่งขัน จำนวน 3 คน คือ
นายปล่อง จำนงทอง จากเมืองไชยา เป็น “หมื่นมวยมีชื่อ”
นายกลึง โตสะอาด จากเมืองลพบุรี เป็น “หมื่นมือแม่นหมัด”
นายแดง ไทยประเสริฐ จากเมืองโคราช เป็น “หมื่นชงัดเชิงชก”
จะเห็นได้ว่า มวยไทย
นั้นมีสิ่งที่อาจไม่รู้มาก่อนเยอะแยะ หากใครที่กำลังมองหาชุด เสื้อผ้า อุปกรณ์ มวยไทย
สามารถเข้ามาดูสินค้าได้ ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ignitefightclub
สงวนลิขสิทธ์ 2019 MuaythaiStreet Co., Ltd. สงวนลิขสิทธ์ทั้งหมด
เปิดให้บริการทุกวัน ส่งทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์
98/3-5 ถ.พระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200